สุขภาพเกี่ยวกับหู

โรคเกี่ยวกับหูที่เราควรรู้

หากท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่บางครั้งยืนๆอยู่แล้วบ้านหมุน อาการเหล่านี้มักจะพบกับบุคคลที่เกิดการทำงานอย่างหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ แต่นั้นก็เป็นคนส่วนหหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายคนที่นอนพักผ่อนเพียงพอแต่ก็ยังมีอาการเหล่านี้ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะมาๆหายๆจนบางครั้งก็ถูกมองว่ากลายเป็นเรืองปกติไปแล้ว
แต่หากมีเหตุการอะไรที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันมันก็ไม่คุ้มเลยนะ เพราะไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเดินทางหากคุณเองรู้สึกถึงอาการเหล่านั้นมันกำลังกลับมาก็คงเป็นเรื่องแย่อย่างแน่นอน บางครั้งร้ายแรงจนถึงชีวิตได้ด้วยแหละซึ่งอาการเหล่านี้จะมีการเกิดขึ้นซ้ำได้อีกและมันจะมาอย่างเฉียบพลันแบบไม่ทันให้เราได้ตั้งตัว
อาการคล้ายคนจะเป็นลม อย่างเช่นยืนๆอยู่แล้วร้สึกเหมือนกับว่าบ้านของเราหมุนได้ หรือหน้ามืดแบบจะล้มทั้งยืน ตาลาย ได้ยินเสียงรอบข้างลดลง หรืออาจจะมีลมอยู่ในหูของเรา บางรายก็เกิดอาการหูดับได้ง่ายซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้เราควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตามอาการของมันเพราะหากมีอาการเหล่านี้เราก็เสี่ยงที่จะเป็นเช่น โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และโรคเส้นประสาทในการทรงตัวอักเสบอยู่เหมือนกันแต่นั้นก็ยังมีอีกหลายอย่างที่เราไม่นำมาชี้แจงเพราะมันเสี่ยงให้เป็นได้ด้วยกันทั้งสิ้น
ขยายคำว่าโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
สำหรับโรคนี้เกิดจากหูในชั้นในของเราเกิดหินปูนเกาะมากขึ้น ซึ่งการเป็นเช่นนี้ได้ส่วนใหญ่มักจะเป็นกับผู้คนท่มีอายุ เหตุหลักๆก็น่าจะเกิดจากการกระแทกหรือการกระทบโดยแรงซึ่งเป็นผลให้เกิดการเคลื่อนที่ไปยังหูชั้นใน ทำให้ท่อที่ส่งคลื่นเสียงทำงานได้ไม่คล่องตัวมันจึงการไม่สมดุลของระบบดังนั้นจึงเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ได้บ่อยครั้ง
วิธีการแกไขก็ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะได้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วและไม่เสี่ยงอันตรายมากขึ้นกับการใช้ชีวิตประจำวัน
ขยายความคำว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
สำหรับโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนี้ ทางการแพทย์นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่มาของมันอย่างแน่ชัดว่าปัจจัยหลักๆเหล่านี้เกิดจากอะไรบ้าง เนื่องจากอาการที่เกิดบ้านหมุนหรือเวียนศรีษะก็จะเป็นโรคเกี่ยวกับอย่างอื่นร่วมดังเช่นการที่มีอาการ หูอื้อหรือสำหรับคนที่มีอาการเสียงหึ่งๆในหุของเรา
ซึ่งในทางการแพทย์จะทำการรักษาโดยทำการดูแลผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้ด้วยการประคับประคอง ด้วยการให้ยาแก้เวียนศรีษะและให้ทานอาการที่มีแต่ประโยชน์ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดเพราะอาหารเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคต่างๆเหล่านี้นั่นเอง

 

สนับสนุนโดย  เครื่องช่วยฟัง

สุขภาพเกี่ยวกับหู

วิธีปฏิบัติเมื่อรู้ว่าหูตึงจากขี้หูอุดตัน

ขี้หูอุดตัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ดูจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความสบายใจมากที่สุด เพราะสามารถรักษาให้หายได้ และใช้ระยะเวลาในการรักษาไม่นานนัก ต้นเหตุของการเกิดขี้หูอุดตันนั้น มาจากพฤติกรรมส่วนตัวของเราเอง ซึ่งการผลิตขี้หูของแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ 

อย่างแรกต้องบอกก่อนว่า ขี้หู ไม่ใช่ศัตรูตัวร้าย ที่เราจะต้องกำจัดให้เหลือ 0% ในร่างกาย เพราะความจริงแล้วขี้หูนั้นมีประโยชน์ในเรื่องการช่วยปกป้องเราจากเชื้อโรคต่างๆ โดยที่มีขนหูเล็กๆในช่องหู ช่วยป้องกันอีกแรง ในกรณีที่มีขี้หูไม่มากนัก อยู่ในปริมาณที่พอดี จะทำให้หูไม่ได้รับผลกระทบอะไร แต่เมื่อไหร่ที่ขี้หูมีปริมาณมาก และถูกอัดสะสมอยู่ในช่องหูมานานเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาขี้หูแข็งและอุดตัน จนไม่สามารถทำให้เราได้ยินเสียงในข้างนั้นๆได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงมีอาการปวดหูร่วมด้วย 

ส่วนใหญ่เราจะไม่รู้ตัวว่ามีขี้หูอุดตันอยู่ในร่างกายจนกว่าเราจะเริ่มมีอาการฟ้อง เช่น ปวดหูมากผิดปกติ จนถึงขั้นลามไปปวดหัวด้วย ไม่สามารถทำกิจกรรมในขณะนั้นได้เลย และรู้สึกว่าไม่ได้ยินเสียงที่ชัดเจน ระดับการได้ยินลดต่ำลงอย่างสัมผัสได้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต บางคนเป็นแม่ค้า บางคนเป็นพนักงาน ต้องติดต่อสื่อสารผ่านการพูดคุย จึงมีปัญหามากกว่า เพราะทำให้การทำงานนั้นยากลำบากกว่าเดิม

การแก้ไขปัญหาคือการรีบไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง เพราะจะทำให้ขี้หูที่แข็งและอุดตันนั้น อักเสบขึ้นในช่องหูได้ และเมื่อมีการอักเสบมีความเป็นไปได้สูงมากว่าเราจะติดเชื้อ และเมื่อมีการติดเชื้อจะเป็นเรื่องใหญ่แล้ว เพราะการรักษาจะเปลี่ยนแนวทาง และอันตรายที่เกิดจากการติดเชื้อที่ช่องหูนั้น ร้ายแรงถึงขั้นที่ทำให้หูดับหรือหูหนวกถาวรได้เลย 

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการประเมินอาการเบื้องต้น ใช้กล้องส่องในช่องหู และใช้น้ำยาสลายขี้หู ให้มีลักษณะอ่อนหรือนิ่มลง บางรายอาจแก้ไขได้เลย แต่บางรายอาจต้องมาทำขั้นตอนนี้หลายครั้งหน่อย ระหว่างนี้ก็มีหยอดหูเองที่บ้านเป็นประจำ เมื่อขี้หูนิ่มลงแล้ว แพทย์จะใช้เครื่องมือดูดขี้หูออก เคลียร์ช่องหูไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าบ้านหมุน และแพทย์จะหยุดการใช้เครื่องมือ เมื่อขี้หูดูดออกไปจนอยู่ในระยะที่ปลอดภัยแล้ว ผู้ป่วยจะรับรู้ได้ทันทีว่ระดับการได้ยินเสียงนั้นดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากรักษาเสร็จแล้ว ให้ระวังอย่าให้น้ำเข้าหูสักระยะ และกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้ง ในทุกๆ 6 เดือน 

 

สนับสนุนโดย  เครื่องช่วยฟัง